เมนู

ฝึกอัตภาพของตนอย่างเดียว ด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า สเมนฺติ ความว่า
ย่อมสงบจิตของตนด้วยความสงบกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพาเปนฺติ ความว่า
ย่อมดับด้วยการดับกิเลส. ในบทว่า อุทฺธคฺคิกํ เป็นต้น ทักษิณาชื่อว่า
อุทธัคคิกา เพราะมีผลในเบื้องบนด้วยสามารถให้ผลในภูมิสูง ๆ ขึ้นรูป.
ทักษิณาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โสวัคคิกา
เพราะให้เกิดอุปบัติในสวรรค์นั้น ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะมีสุขเป็นวิบากในที่เกิด
แล้ว. ชื่อว่า สัคคสังวัตตนิกา เพราะทำอารมณ์อันดีคือของวิเศษ 10
มีวรรณทิพย์เป็นต้นให้เกิด อธิบายว่า ย่อมตั้งทักษิณาเช่นนั้นไว้.
บทว่า อริยธมฺเม ฐิโต คือตั้งอยู่ในเบญจศีลเบญจธรรม. บทว่า
เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ความว่า นรชนนั้น ไปปรโลกถือปฏิสนธิแล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์. คฤหัสถ์ไม่ว่าจะเป็นโสดาบันและสกทาคามี หรือ
อนาคามีก็ตาม ปฏิปทานี้ย่อมได้เหมือนกันทุกคนแล.
จบอรรถกถาปัตตกัมมสูตรที่ 1

2. อันนนาถสูตร


ว่าด้วยสุข 4 ประการ


[62] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข 4 ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ควรได้รับตามกาลสมัย สุข 4 ประการคืออะไรบ้าง คือ
อตฺถิสุขํ สุขเกิดแก่ความมีทรัพย์
โภคสุขํ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค